Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore การจำแนกไม้ Woods identification

การจำแนกไม้ Woods identification

Description: กลุ่มวิจัยอนุสัญญาไซเตสด้านพืช ส านักคุ้มครองพันธุ์พืช กรมวิชาการเกษตร.

Search

Read the Text Version

WOODS IDENTIFICATION / การจ�ำแนกเนือ้ ไม้ 43 เป็นตวั อยา่ งในการศึกษาลักษณะโครงสร้างที่เป็นแบบลักษณะเฉพาะของไม้แต่ละชนิด ตัวอย่างที่ แนน่ อนน้นั ได้จากการเกบ็ ตัวอย่างเน้อื ไมพ้ ร้อมใบ ดอก หรอื ผล หรือทัง้ ดอกและผล (Herbarium Material) แลว้ นำ� มาระบชุ นดิ โดยอาศยั ลกั ษณะทางพฤกษศาสตรเ์ พอ่ื หาชอื่ ทถี่ กู ตอ้ ง (ณรงค,์ 2527) 3. เนื้อไม้ของพชื เมล็ดเปลือย (Softwood) และเน้อื ไมข้ องพชื ใบเล้ียงคู่ (Hardwood) การแบง่ ประเภทเนอื้ ไมเ้ มอื่ พจิ ารณาดา้ นกายวภิ าค (Anatomical Character) และการ จำ� แนกทางพฤกษศาสตร์ (Botanical Classification) สามารถแบง่ ได้เปน็ 2 ประเภท คือ เนื้อไม้ ของพชื เมล็ดเปลือย (Softwood) และเนอื้ ไม้ของพืชใบเล้ียงคู่ (Hardwood) (ภาพที่ 1) ภาพท่ี 1 การแบ่งกลุ่ม Softwood และ Hardwood เน้ือไม้ของพืชเมล็ดเปลือย (Softwood) เป็นเนื้อไม้ของพืชในกลุ่มพืชเมล็ดเปลือย (Gymnosperm) ยังไม่มีดอก มีการสร้างส่วนสืบพันธุ์ท่ีเรียกว่าโคน (Cone) เมล็ดไม่มีรังไข่หุ้ม (Naked Seed) ในส่วนของเน้ือไม้ไมม่ ีเวสเซล (Vessel) หรอื พอร์ (Pore) การตรวจจ�ำแนกชนดิ ไม้ ไม่สามารถตรวจไดโ้ ดยใชแ้ ฮนด์เลนสห์ รอื แว่นขยาย ต้องท�ำสไลด์ไมแ้ ละส่องดูลักษณะของเซลลไ์ ม้ ด้วยกลอ้ งจลุ ทรรศน์กำ� ลงั ขยายสูง (ภาพท่ี 2) กลุม่ วจิ ัยอนุสญั ญาไซเตสดา้ นพืช ส�ำนักคุ้มครองพันธพ์ุ ืช กรมวิชาการเกษตร

44 การจำ� แนกเน้อื ไม้ / WOODS IDENTIFICATION เนื้อไม้ของพืชใบเลี้ยงคู่ (Hardwood) เป็นเนื้อไม้ของพืชดอก (Angiosperm) กลุ่ม ใบเลย้ี งคู่ (Dicotyledons) สรา้ งดอก (Flower) สำ� หรบั สบื พนั ธ์ุ เมลด็ อยใู่ นรงั ไข่ ในสว่ นของเนอื้ ไมม้ ี เวสเซล (Vessel) หรอื พอร์ (Pore) สามารถตรวจจำ� แนกชนดิ ไดด้ ว้ ยแวน่ ขยายกำ� ลงั ขยาย 10-15 เทา่ (ภาพท่ี 2) ภาพที่ 2 ลักษณะโครงสรา้ งกายวภิ าคของ Softwood และ Hardwood (ดัดแปลงจาก Praham and Gray, 1984)

WOODS IDENTIFICATION / การจ�ำแนกเนือ้ ไม้ 45 ในการเรยี กในภาษาไทย สำ� หรบั เนอ้ื ไมข้ องพชื เมลด็ เปลอื ย (softwood) วา่ “ไมเ้ นอื้ ออ่ น” และเรียกเนื้อไม้ของพืชใบเล้ียงคู่ (hardwood) ว่า “ไม้เนื้อแข็ง” อาจท�ำให้เกิดการสับสนว่า เน้ือไม้ของพืชเมล็ดเปลือยมีคุณสมบัติความแข็งด้อยกว่าเนื้อไม้ของพืชใบเลี้ยงคู่ ซ่ึงไม่ถูกต้องนัก เพราะไม้ของพืชเมล็ดเปลือยบางชนิด เช่น ไม้ของสนสองใบ สนสามใบ มีความแข็งแรงสูงกว่า ไม้สมพง ไมต้ ะกู หรือตนี เปด็ ทเี่ ป็นไม้ในกลุ่มของพชื ใบเลีย้ งคู่ ดงั น้ัน การเรียก “ไมเ้ น้ือออ่ น” หรือ “ไม้เน้ือแขง็ ” ไม่เกี่ยวข้องกบั ค�ำวา่ “softwood” และ “hardwood” เนอื้ ไม้ของพืชเมล็ดเปลอื ย (Softwood) เนื้อไม้ของพืชในกลมุ่ พืชเมล็ดเปลือย ยงั ไมม่ ดี อก มีการสรา้ งสว่ นสบื พันธุท์ ่ีเรยี กวา่ โคน เมล็ดไม่มีรังไข่หุ้ม เนื้อไม้ไม่มีเวสเซล หรือ พอร์ ประเภทที่ส�ำคัญและมีการใช้ประโยชน์ท่ัวโลก สามารถแบ่งได้ดังนี้ 1. ไม้ซีดาร์ (Cedar) ไม้ท่ีมาจากพืชหลายสกุลที่มีชื่อสามัญว่า Cedar มีเนื้อละเอียด มีกลิ่นหอม มีคุณสมบัติกันแมลง นิยมน�ำมาสกัดน้�ำมันหอมระเหย ก่อสร้างบ้าน ท�ำเครื่องเรือน ตวั อยา่ ง เชน่ วงศ์ PINACEAE ไดแ้ ก่ Cedar (Cedrus spp.) วงศ์ CUPRESSACEAE ได้แก่ Atlantic White Cedar (Chamaecyparis thyoides), Chinese Incense-Cedar, (Calocedrus macrolepis), Japanese Cedar, (Cryptomeria japonica), Mexican White Cedar (Cupressus lusitanica) และ Northern White Cedar (Thuja occidentalis) เปน็ ตน้ และนอกจากน้ี ไมซ้ ดี าร์ ยงั หมายถงึ ไมข้ องพชื ใบเลยี้ งคู่ ในวงศ์ MELIACEAE สกลุ Cedrela มจี ำ� นวน 17 ชนดิ ซง่ึ เปน็ พชื อนรุ กั ษบ์ ญั ชที ่ี 2 ตามบัญชแี นบทา้ ยอนสุ ัญญาไซเตส 2. ไม้คิวเปรส (Cypress) ไม้ที่ได้มาจากสนเขตอบอุ่นในเขตโลกเหนือซ่ึงอยู่ในวงศ์ CUPRESSACEAE กลุ่มน้ีมักมีล�ำต้นสูงใหญ่ เนื้อไม้สีอ่อน เห็นวงปีชัดเจน ใช่ในงานก่อสร้าง เรือ เคร่ืองเรือน ตวั อยา่ ง เช่น Bald Cypresses (Taxodium spp.), Chinese Swamp Cypress (Glyptostrobus pensilis) และ Cypress (Cupressus spp.) เปน็ ต้น และ Patagonian Cypress (Fitzroya cupressoides) ซง่ึ เปน็ พืชอนรุ กั ษ์บัญชที ี่ 1 ตามบัญชแี นบท้ายอนสุ ญั ญาไซเตส 3. ไม้ดักลาส (Douglas fir) ไม้ท่ีได้มาจากพืชชนิด Pseudotsuga menziesii วงศ์ PINACEAE เนื้อไม้มีลวดลายสวยงาม เห็นวงปชี ดั เจน ใชใ้ นงานโครงสรา้ ง ปพู ้นื และประดับตกแต่ง กลุ่มวจิ ัยอนสุ ญั ญาไซเตสดา้ นพืช ส�ำนักคุ้มครองพันธพุ์ ชื กรมวิชาการเกษตร

46 การจำ� แนกเนอ้ื ไม้ / WOODS IDENTIFICATION 4. ไมเ้ ฟอร์ (Fir) ไมท้ ไ่ี ดม้ าจากพชื ในสกลุ Abies วงศ์ PINACEAE ไมม้ เี นอื้ ออ่ น ไมท่ นทาน จงึ นยิ มใชต้ กแตง่ ภายใน การกอ่ สรา้ งทไ่ี มถ่ าวร และนำ� มาแปรรปู เปน็ ไมอ้ ดั และเยอื่ กระดาษ ตวั อยา่ ง เชน่ Balsam Fir (Abies balsamea), Silver Fir (Abies alba), Noble Fir (Abies procera), Pacific Silver Fir (Abies amabilis) เป็นต้น และ Guatemala Fir (Abies guatemalensis) ซงึ่ เป็นพชื อนุรกั ษ์บัญชีที่ 1 ตามบญั ชแี นบทา้ ยอนุสัญญาไซเตส 5. ไมจ้ นู ิเปอร์ (Juniper) ไม้ทม่ี าจากพชื บางชนิดในสกลุ Juniperus วงศ์ CUPRESSA- CEAE เน้อื ละเอยี ด มีกลิ่นหอม ใช้ก่อสรา้ งบ้าน ทำ� เคร่ืองเรือน กลอ่ งใส่ของ ตัวอยา่ ง เชน่ Virginian Juniper (Juniperus virginiana) เป็นต้น 6. ไม้ลารช์ (Larch) ไมท้ ี่ไดม้ าจากพืชในสกลุ Larix วงศ์ PINACEAE มีคณุ สมบตั กิ นั นำ�้ หายาก มรี าคาสงู นิยมใช้ตกแตง่ ภายใน ท�ำเครอื่ งเรือน สร้างเรือ โดยเฉพาะเรือยอรจ์ ตวั อยา่ ง เช่น European Larch (Larix decidua), Japanese Larch (Larix kaempferi), Tamarack (Larix laricina) และ Western Larch (Larix occidentalis) เป็นต้น 7. ไมเ้ คาริ (Kauri) ไมท้ ไี่ ดม้ าจากพชื ในสกลุ Agathis วงศ์ ARAUCARIACEAE มถี น่ิ กำ� เนดิ ในแถบเขตโลกใต้ เนอื้ ไม้มสี นี ้ำ� ตาลเข้ม มลี วดลายเฉพาะตวั นิยมทำ� เปน็ เคร่อื งเรอื น เครอื่ งดนตรี ตัวอยา่ ง เช่น Kauri (Agathis australis) และ Queensland Kauri (Agathis robusta) เป็นตน้ 8. ไมส้ น (Pine) ไมท้ ไ่ี ดม้ าจากพชื ในสกลุ Pinus วงศ์ PINACEAE เปน็ ไมโ้ ตเรว็ ทนี่ ยิ มปลกู เพ่ือให้เนื้อไมม้ ากทส่ี ุด ในกล่มุ พชื เมล็ดเปลือย ใชป้ ระโยชน์หลากหลาย เช่น ทำ� เครอ่ื งเรือน ตกแต่ง ภายใน และใช้ในอตุ สาหกรรมเยื่อกระดาษ ตวั อย่าง เช่น European Black Pine (Pinus nigra), Jack Pine (Pinus banksiana), Western White Pine (Pinus monticola), Sugar Pine (Pinus lambertiana), Longleaf Pine (Pinus palustris) และ Pitch Pine (Pinus rigida) เป็นตน้ 9. ไม้ริมู (Rimu) ไม้ที่ได้มาจากพืชชนิด Dacrydium cupressinum วงศ์ PODOCARPACEAE เนอ้ื ไมส้ นี ำ้� ตาลออ่ น ในอดตี เคยพบเปน็ จำ� นวนมากในนวิ ซแี ลนด์ ใชท้ ำ� เครอื่ ง เรอื น และสร้างบ้าน 10. ไมส้ ปรูส (Spruce) ไม้ที่ได้มาจากพชื ในสกุล Picea วงศ์ PINACEAE เนอื้ ไมอ้ อ่ น เหน็ วงปีชดั เจน แตไ่ มท่ นทานต่อแมลง จงึ นิยมใช้ในการก่อสรา้ งภายใน เคร่ืองเรอื น เครอ่ื งดนตรี

WOODS IDENTIFICATION / การจ�ำแนกเนื้อไม้ 47 ตกแต่งภายใน และนิยมใช้ในอุตสาหกรรมเย่ือกระดาษ เนื่องจากมีเซลล์ไฟเบอร์ที่ยาว ท�ำให้ได้ กระดาษเหนยี วและมคี ณุ ภาพดี ตวั อยา่ ง เช่น Norway Spruce (Picea abies), Black Spruce (Picea mariana), Red Spruce (Picea rubens), Sitka Spruce (Picea sitchensis) และ White Spruce (Picea glauca) เปน็ ตน้ 11. ไม้ยิว (Yew) ไม้ท่ีได้มาจากพืชในสกุล Taxus วงศ์ TAXACEAE เน้ือไม้มีสีอ่อน ไปจนถงึ เกอื บขาว มคี วามแขง็ ปานกลาง และมีความยดื หยุ่น ใช้ในงานกอ่ สรา้ ง เคร่ืองเรือน กลอ่ ง เคร่ืองดนตรี ตัวอย่าง เช่น European Yew (Taxus baccata) และมีจ�ำนวน 5 ชนิด ท่ีจัดอยูใ่ นบญั ชีแนบทา้ ยอนุสญั ญาไซเตส บญั ชีที่ 2 ไดแ้ ก่ Taxus chinensis, Taxus cuspidate, Taxus fauna, Taxus sumatrana และ Taxus wallichiana เป็นต้น เน้อื ไม้ของพชื ใบเล้ียงคู่ (Hardwood) เน้อื ไม้ของพชื ดอกกลมุ่ ใบเลี้ยงคมู่ ีการสร้างดอกส�ำหรับสืบพันธุ์ เมล็ดอยู่ในรงั ไข่ เนอ้ื ไม้ มเี วสเซล หรือพอร์ ประเภทที่ส�ำคญั และมีการใชป้ ระโยชน์ทั่วโลกสามารถแบ่งได้ดงั นี้ 1. ไมเ้ อลเดอร์ (Alder) ไม้ที่ได้มาจากพืชในสกุล Alnus วงศ์ BETULACEAE เน้อื ไม้มี สีนำ้� ตาลอ่อน ความแขง็ ปานกลาง นยิ มนำ� มาท�ำเคร่อื งดนตรี โดยเฉพาะกตี าร์ ตัวอย่าง เชน่ Black Alder (Alnus glutinosa) และ Red Alder (Alnus rubra) เปน็ ต้น 2. ไม้เเอช (Ash) ไมท้ ไี่ ดม้ าจากพชื ในสกุล Fraxinus วงศ์ OLEACEAE เน้ือไม้สีน้�ำตาล แขง็ เหนยี วและยดื หยนุ่ ไดด้ ี จงึ นยิ มนำ� มาทำ� คนั ธนู ไมต้ เี บสบอล และกตี าร์ ตวั อยา่ ง เชน่ Black ash (Fraxinus nigra), Blue Ash (Fraxinus quadrangulata), Common Ash (Fraxinus excel- sior), Green Ash (Fraxinus pennsylvanica), Oregon Ash (Fraxinus latifolia), Pumpkin Ash (Fraxinus profunda) และ White Ash (Fraxinus americana) เปน็ ตน้ 3. ไม้แอสเพน (Aspen) ไมท้ ่ีได้มาจากพืชในสกลุ Populus วงศ์ SALICACEAE เนื้อไม้ สขี าว อ่อน เบา นยิ มน�ำมาทำ� กา้ นไม้ขดี และใช้ในอตุ สาหกรรมกระดาษ ตวั อย่าง เชน่ Bigtooth Aspen (Populus gradidentata), European Aspen (Populus tremula) และ Quaking Aspen (Populus tremuloides) เป็นตน้ กล่มุ วจิ ยั อนุสัญญาไซเตสด้านพชื ส�ำนักคุ้มครองพันธ์ุพืช กรมวชิ าการเกษตร

48 การจำ� แนกเนอ้ื ไม้ / WOODS IDENTIFICATION 4. ไมบ้ ลั ซา (Balsa) ไมท้ ไ่ี ดม้ าจากพชื ชนดิ Ochroma pyramidale วงศ์ MALVACEAE เนื้อไมส้ นี ้ำ� ตาลออ่ น มีความเบามาก นยิ มใช้ต่อเรือ ท�ำตุก๊ ตา โมเดล และงานประดิษฐ์ต่าง ๆ 5. ไมบ้ าสวดู (Basswood) ไม้ทไ่ี ด้มาจากพืชในสกุล Tilia วงศ์ MALVACEAE เนอ้ื ไม้ สเี ทาออ่ นไปจนถงึ เกอื บขาว ออ่ น แกะไสไดง้ า่ ย นำ�้ หนกั เบา นยิ มทำ� ไมแ้ กะสลกั สำ� หรบั ประดบั ตกแตง่ ท�ำหนุ่ ตกุ๊ ตา หรอื งานปฏมิ ากรรมขนาดเล็ก และเครื่องดนตรี ตวั อยา่ ง เชน่ American Basswood (Tilia americana) และ White Basswood (Tilia heterophylla) เป็นต้น 6. ไมบ้ ชี (Beech) ไม้ที่ไดม้ าจากพชื ในสกลุ Fagus วงศ์ FAGACEAE เนื้อไมส้ ีนำ้� ตาล อ่อน มีกลิ่นหอม นิยมท�ำถังหมักเบียร์ ข้ีเล่ือยใช้รมควันแฮม และไส้กรอก ในอดีตนิยมท�ำไม้ฟืน เพราะใหเ้ ปลวไฟดี ลกุ ไหม้ชา้ ตวั อยา่ ง เช่น American Beech (Fagus grandifolia), Shining Beech (Fagus lucida), Oriental Beech (Fagus orientalis) และ European Beech (Fagus sylvatica) เปน็ ต้น 7. ไม้เบิร์ช (Birch) ไม้ท่ีไดม้ าจากพืชในสกลุ Betula วงศ์ BETULACEAE เนือ้ ไม้สีอ่อน เนอ้ื ละเอียด นิยมท�ำเครอ่ื งเรอื น ตกแตง่ ภายใน ท�ำอุปกรณก์ ฬี า ไมอ้ ัด และเยอื่ กระดาษ ตัวอย่าง เชน่ Gray Birch (Betula populifolia), Black Birch (Betula nigra), Paper Birch (Betula papyrifera), Yellow Birch (Betula alleghaniensis), Silver Birch (Betula pendula) และ Downy Birch (Betula pubescens) เป็นต้น 8. ไม้เชอร่ี (Cherry) ไมท้ ไี่ ดม้ าจากพชื ในสกุล Prunus วงศ์ ROSACEAE เนอ้ื ไมม้ ีหลาก หลายสี นิยมใช้ในการกอ่ สร้าง ทำ� เคร่อื งเรือน ท�ำภาชนะ ตัวอย่าง เชน่ Black Cherry (Prunus serotina), Red Cherry (Prunus pensylvanica) และ Wild Cherry (Prunus avium) สำ� หรับ ชนดิ Prunus africana ซงึ่ เปน็ พชื อนรุ กั ษบ์ ญั ชที ่ี 2 ตามบญั ชแี นบทา้ ยอนสุ ญั ญาไซเตส ถงึ แมเ้ นอ้ื ไม้ จะใชป้ ระโยชนไ์ ด้ แตน่ ยิ มลอกเปลอื กไมม้ าทำ� สมนุ ไพรรักษาโรคได้หลายอย่าง 9. ไม้คอตตอน (Cotton) ไม้ท่ีได้มาจากพืชในสกุล Populus sect. Aigeiros วงศ์ SALICACEAE จัดอยู่ในกลุ่มไม้โตเร็ว เน้ือไม้อ่อน น�้ำหนักเบา นิยมน�ำมาท�ำเป็นกล่องบรรจุของ ส�ำหรับขนส่ง ตัวอย่าง เช่น Eastern Cottonwood (Populus deltoides) และ Swamp Cottonwood (Populus heterophylla) เป็นตน้

WOODS IDENTIFICATION / การจำ� แนกเน้ือไม้ 49 10. ไม้เชสนัท (Chestnut) ไม้ท่ีได้มาจากพืชในสกุล Castanea วงศ์ FAGACEAE เนื้อไม้สีอ่อน คล้ายไม้โอ้ค (Oak) ใช้ในการก่อสร้าง ท�ำเครื่องเรือน ประดับตกแต่งภายใน และ เชื้อเพลิง ตัวอย่าง เช่น American Chestnuts (Castanea dentata), Chinese Chestnut (Castanea mollissima) และ The European Chestnut (Castanea sativa) เป็นต้น 11. ไม้โคโคโบโล (Cocobolo) ไม้ท่ีได้มาจากพืชชนิด Dalbergia retusa วงศ์ FABACEAE ซึ่งเป็นพืชอนุรักษ์บัญชีที่ 2 ตามบัญชีแนบท้ายอนุสัญญาไซเตส ลักษณะเน้ือไม้แข็ง มีสีหลากหลาย และลวดลายสวยงาม นิยมท�ำเครื่องดนตรี เครื่องเรือน และงานประดิษฐ์ต่างๆ ได้รับความนยิ ม และเปน็ ท่ีต้องการของตลาดมาก 12. ไม้ด้อกวูด (Dogwood) ไม้ท่ีได้มาจากพืชในสกุล Cornus วงศ์ CORNACEAE เนอื้ ไม้ละเอยี ด เนือ้ แขง็ นิยมใช้ทำ� กระสวย ลูกธนู ไมเ้ ทา้ เครื่องดนตรี และด้ามจับอุปกรณต์ ่างๆ ทตี่ อ้ งการความคงทนตอ่ แรงกระแทก ตวั อยา่ ง เชน่ Flowering Dogwood (Cornus florida) และ Pacific Dogwood (Cornus nuttallii) เป็นตน้ 13. ไม้อีโบนี (Ebony) ไม้ท่ีได้มาจากพืชในสกุล Diospyros วงศ์ EBENACEAE เนอ้ื ไมล้ ะเอยี ด เนอื้ แขง็ สดี ำ� มคี วามหนาแนน่ สงู จมนำ้� นยิ มใชใ้ นงานประดบั ตกแตง่ ทำ� เครอื่ งเรอื น เครื่องดนตรี สิ่งประดิษฐ์ ตัวอย่าง เช่น Andaman Marblewood (Diospyros kurzii), Ebène Marbre (Diospyros melanida), African Ebony (Diospyros crassiflora) และ Ceylon Ebony (Diospyros ebenum) ส�ำหรับไม้อีโบนี ที่มีถิ่นก�ำเนิดจากสาธารณรัฐมาดากัสการ์ถือว่าเป็นพืช อนรุ ักษ์บัญชีท่ี 2 ตามบญั ชแี นบทา้ ยอนุสัญญาไซเตส 14. ไม้เอล์ม (Elm) ไม้ท่ีได้มาจากพืชในสกุล Ulmus วงศ์ ULMACEAE เน้ือไม้แข็ง เห็นลวดลายวงปีชัดเจน บิดหรือโก่งงอยาก ไม่บวมพอเม่ือสัมผัสน้�ำ นิยมใช้ในงานโครงสร้างที่ สัมผัสนำ้� เชน่ สะพาน โลงศพ เกวยี น เกา้ อ้ี เครือ่ งดนตรี ตัวอย่าง เช่น American Elm (Ulmus americana), English elm (Ulmus procera), Rock Elm (Ulmus thomasii), Slippery Elm, Red Elm (Ulmus rubra) และ Wych Elm (Ulmus glabra) เปน็ ตน้ 15. ไม้ยูคาลิปตัส (Eucalyptus) ไม้ท่ีได้มาจากพืชในสกุล Eucalyptus วงศ์ MYRTACEAE เนอ้ื ไมส้ อี อ่ น เบา เปน็ ไมโ้ ตเรว็ นยิ มใชใ้ นอตุ สาหกรรมกระดาษ เนอ่ื งจากไฟเบอร์ กลุม่ วจิ ัยอนสุ ัญญาไซเตสดา้ นพชื ส�ำนกั คุ้มครองพันธ์พุ ชื กรมวชิ าการเกษตร

50 การจำ� แนกเนอื้ ไม้ / WOODS IDENTIFICATION มีความสมำ่� เสมอ ตวั อยา่ ง เชน่ White Mahogany (Eucalyptus acmenoides), Brown Mallet (Eucalyptus astringens), Banglay, Southern Mahogany (Eucalyptus botryoides), River Red Gum (Eucalyptus camaldulensis) และ Karri (Eucalyptus diversicolor) เป็นต้น 16. ไม้ฮิกคอรี (Hickory) ไม้ท่ีได้มาจากพืชในสกุล Carya วงศ์ JUGLANDACEAE เนอื้ ไมส้ นี ำ้� ตาลออ่ น เนอื้ ละเอยี ด แขง็ ทนทาน นยิ มทำ� เปน็ เครอ่ื งเรอื น บานประตู หนา้ ตา่ ง เครอ่ื งมอื เครือ่ งใช้ อปุ กรณก์ ีฬา ตัวอย่าง เช่น Pecan (Carya illinoinensis), Pignut Hickory (Carya glabra), Shagbark Hickory (Carya ovata) และShellbark Hickory (Carya laciniosa) เปน็ ตน้ 17. ไมฮ้ อรน์ บมี (Hornbeam) ไมท้ ไ่ี ดม้ าจากพชื ในสกลุ Carpinus วงศ์ BETULACEAE เน้อื ไมส้ ีน้ำ� ตาล แขง็ มลี วดลายสวยงาม นิยมใช้ก่อสรา้ ง ทำ� พื้น ประดับตกแต่งภายใน ตวั อย่าง เชน่ European Hornbeam (Carpinus betulus), American Hornbeam (Carpinus caroliniana), Japanese Hornbeam (Carpinus japonica) และ Oriental Hornbeam (Carpinus orientalis) เปน็ ตน้ 18. ไม้เยลูตง (Jelutong) ไม้ที่ได้มาจากต้นตีนเป็ดแดง (Dyera costulata) วงศ์ APOCYNACEAE เน้ือไม้สีน�้ำตาลอ่อน เบามาก คล้ายไม้บัลซา นิยมใช้ท�ำโมเดล และงาน ประดิษฐต์ ่าง ๆ 19. ไม้ลิกนัม ไวเต้ (Lignum vitae) ไม้ที่ได้มาจากต้นแก้วเจ้าจอม (Guaiacum officinale) และ Guaiacum sanctum วงศ์ ZYGOPHYLLACEAE เนื้อไม้สีนำ้� ตาลเข้ม ลายดำ� จมนำ�้ จดั เปน็ ไมท้ แ่ี ขง็ ทส่ี ดุ ในบรรดาเนอื้ ไมท้ มี่ กี ารคา้ นยิ มทำ� อปุ กรณก์ ฬี า เครอื่ งดนตรี สาก กระบอง รอก และอุปกรณ์ที่ต้องการความแข็งแรง ซ่ึงทั้งสองชนิดน้ีจัดเป็นพืชอนุรักษ์บัญชีท่ี 2 ตามบัญชี แนบทา้ ยอนสุ ญั ญาไซเตส 20. ไมม้ ะฮอกกานี (Mahogany) ไมท้ ไี่ ดม้ าจากพชื ในสกลุ Swietenia วงศ์ MELIACEAE เนอื้ สนี ำ�้ ตาลแดง จนถงึ นำ้� ตาลเขม้ แขง็ เนอ้ื ละเอยี ด สวยงาม นยิ มใชท้ ำ� เครอ่ื งเรอื น สรา้ งเรอื เครอ่ื ง ดนตรี ตวั อย่าง เช่น มะฮอกกานใี บใหญ่ (Honduras Mahogany) (Swietenia macrophylla), มะฮอกกานีใบเลก็ (West Indian Mahogany) (Swietenia mahagoni) และ Pacific Coast Mahogany (Swietenia humilis) เปน็ ตน้ ไมม้ ะฮอกกานเี ปน็ พชื อนรุ กั ษบ์ ญั ชที ี่ 2 ตามบญั ชแี นบทา้ ย อนสุ ญั ญาไซเตส

WOODS IDENTIFICATION / การจ�ำแนกเนอ้ื ไม้ 51 21. ไม้เมเปิ้ล (Maple) ไม้ที่ได้มาจากพืชในสกุล Acer วงศ์ SAPINDACEAE เนื้อไม้ สีน�้ำตาล มีทัง้ เน้อื แข็งและอ่อน ชนิดทเ่ี นอื้ แขง็ นิยมใชก้ อ่ สร้าง ท�ำเครอ่ื งเรอื น อปุ กรณ์กีฬา และ เคร่ืองใช้ต่างๆ ส่วนชนิดเน้ืออ่อน ใช้ท�ำไม้อัด เย่ือกระดาษ ตัวอย่างกลุ่มไม้เน้ือแข็ง เช่น Sugar Maple (Acer saccharum) และ Black Maple (Acer nigrum) เป็นต้น กลุม่ ไม้เนื้อออ่ น เชน่ Boxelder (Acer negundo), Red Maple (Acer rubrum), Silver Maple (Acer saccharinum) และ Sycamore Maple (Acer pseudoplatanus) 22. ไม้เต็ง (Meranti) ไมท้ ไี่ ดม้ าจากพืชในสกุล Shorea วงศ์ DIPTERO CARPACEAE เนอื้ ไม้สีนำ้� ตาลออ่ นจนถงึ เขม้ มีลวดลายชดั เจน เนอื้ แข็ง นิยมใชก้ ่อสร้างบ้านเรือน ทำ� เครือ่ งเรือน ตัวอย่าง เชน่ เต็ง (Shorea siamensis) รัง (Shorea obtusa) เต็งตานี (Shorea guiso) และ สยาแดง (Shorea leprosula) 23. ไมโ้ อค้ (Oak) ไมท้ ไ่ี ดม้ าจากพชื ในสกลุ Quercus วงศ์ FAGACEAE เนอ้ื ไมส้ นี ำ้� ตาลเขม้ หนักและแข็งมาก บางชนิดมีกล่ิน น�ำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ต้ังแต่ต่อเรือ สร้างบ้านเรือน ท�ำเครื่องเรือน ตลอดจนท�ำถังบ่มไวน์ ตัวอย่าง เช่น White Oak (Quercus alba), Bur Oak (Quercus macrocarpa), Swamp White Oak (Quercus bicolor), Southern Live Oak (Quercus virginiana), Overcup Oak (Quercus lyrata) และ English Oak (Quercus robur) เปน็ ตน้ ชนดิ Quercus mongolica ทม่ี ถี นิ่ กำ� เนดิ ในสหพนั ธรฐั รสั เซยี ถอื วา่ เปน็ พชื อนรุ กั ษบ์ ญั ชที ี่ 3 ตามบญั ชแี นบท้ายอนสุ ัญญาไซเตส 24. ไมพ้ อพลาร์ (Poplar) ไมท้ ไี่ ดม้ าจากพชื ในสกลุ Populus วงศ์ SALICACEAE เนอื้ ไม้ สนี ำ�้ ตาลอมเขยี ว แขง็ เนอื้ ละเอยี ด นยิ มใชก้ อ่ สรา้ งบา้ นเรอื น ตกแตง่ ภายใน ทำ� เครอื่ งเรอื น อปุ กรณ์ กฬี า งานหัตถกรรม ตวั อยา่ ง เชน่ Balsam Poplar (Populus balsamifera), Black Poplar (Populus nigra) และ Hybrid black Poplar (Populus × canadensis) 25. ไม้เพอร์เพิลฮาร์ท (Purpleheart) ไม้ที่ได้มาจากพืชในสกุล Peltogyne วงศ์ FABACEAE เนอ้ื ไมส้ มี ว่ งเขม้ ละเอยี ด แขง็ นยิ มใชท้ ำ� เครอื่ งดนตรี เครอื่ งเรอื น ตวั อยา่ ง เชน่ Peltogyne paniculata เป็นต้น 26. ไม้รามิน (Ramin) ไม้ท่ีได้จากพืชในสกุล Gonystylus วงศ์ THYMELIACEAE ไมใ้ นสกลุ นมี้ ที ัง้ หมด 29 ชนดิ สว่ นใหญม่ ถี ิ่นกำ� เนิดแถบอนิ โดมาเลเซยี จัดเป็นพืชอนุรักษ์บญั ชีท่ี 2 กลมุ่ วจิ ัยอนุสัญญาไซเตสดา้ นพชื ส�ำนักค้มุ ครองพันธุ์พืช กรมวิชาการเกษตร

52 การจ�ำแนกเน้ือไม้ / WOODS IDENTIFICATION ตามบัญชีแนบท้ายอนุสัญญาไซเตส เน้ือไม้มีสีน�้ำตาลอ่อน เส้ียนละเอียด นิยมท�ำเคร่ืองใช้ เครอื่ งเรอื น ของเล่น บานหน้าต่างประตูตัวอยา่ ง เช่น Gonystylus bancanus 27. ไม้โรสวูด (Rosewood) ไม้ท่ีได้มาจากพืชในสกุล Dalbergia วงศ์ FABACEAE ไม้ในสกุลนี้มีท้ังหมดประมาณ 250 ชนิด มีทั้งไม้ต้น และไม้เถา มีการกระจายพันธุ์ท่ัวโลก จัดว่าเป็นพืชอนุรักษ์บัญชีที่ 1 และ 2 ตามบัญชีแนบท้ายอนุสัญญาไซเตส เน้ือไม้สีม่วงเข้ม สีแดงเข้ม ไปจนถึงสีน�้ำตาล มีลวดลายสวยงาม นิยมใช้ตกแต่งภายในอาคาร ท�ำเคร่ืองดนตรี เครื่องเรือน ตัวอย่าง เช่น Brazilian Rosewood (Dalbergia nigra), Indian Rosewood (Dalbergia latifolia), ชิงชนั Burmese Rosewood (Dalbergia oliveri) และ พะยงู Siamese Rosewood (Dalbergia cochinchinensis) 28. ไม้ยางพารา (Rubber Wood) ไม้ท่ีได้มาจากพืชชนิด Hevea brasiliensis วงศ์ EUPHORBIACEAE เนือ้ ไมส้ นี ำ้� ตาลอ่อน เน้อื ละเอยี ด เบา นิยมใชท้ ำ� เคร่อื งเรือน ของเลน่ เด็ก ไม้แบบ 29. ไม้สัก (Teak) ไมท้ ่ไี ด้มาจากพืชชนิด Tectona grandis วงศ์ LAMIACEAE เนอื้ ไม้ สนี ำ้� ตาล ลวดลายวงปชี ดั เจน เนอื้ ละเอยี ด นยิ มใชใ้ นสรา้ งบา้ นเรอื น งานตกแตง่ ภายใน เครอื่ งเรอื น 30. ไมว้ อลนทั (Walnut) ไมท้ ไ่ี ด้มาจากพชื ในสกลุ Juglans วงศ์ JUGLANDACEAE เนือ้ ไม้สีนำ้� ตาลเขม้ แขง็ นิยมน�ำมาท�ำเครือ่ งเรือน อุปกรณเ์ ครอื่ งใช้ ตวั อยา่ ง เชน่ Eastern Black Walnut (Juglans nigra) และ Common Walnut (Juglans regia) เปน็ ตน้ 31. ไม้เวงเก (Wenge) ไมท้ ีไ่ ดม้ าจากพชื ชนดิ Millettia laurentii วงศ์ FABACEAE เนือ้ ไมส้ ีน�ำ้ ตาลมว่ ง หนัก แขง็ นยิ มใชก้ อ่ สรา้ ง พ้ืน เครอื่ งเรือน เครื่องดนตรี เป็นตน้ 32. ไม้วิลโลว์ (Willow) ไม้ท่ีได้มาจากพืชในสกุล Salix วงศ์ SALICACEAE เนื้อไม้ นำ้� ตาล มคี วามยืดหยุ่นสูง นยิ มใชก้ ่อสร้างบ้านเรอื น ร้วั ทำ� เคร่ืองมอื เคร่อื งใช้ ตวั อย่าง เช่น Black Willow (Salix nigra), Cricket-Bat Willow (Salix alba ‘Caerulea’), White Willow (Salix alba) และ หลิว Weeping Willow (Salix babylonica)

WOODS IDENTIFICATION / การจ�ำแนกเนอื้ ไม้ 53 ความร้เู บอื้ งตน้ เกี่ยวกบั ไม้ สว่ นตา่ งๆ ของลำ�ตน้ ล�ำต้น เป็นแกนหลกั ของพชื ท�ำหน้าทลี่ ำ� เลยี งน�้ำ ธาตอุ าหารท่ีรากดูดไปยงั ใบ และช่วยชู เรอื นยอดไดร้ บั แสงสว่างจากดวงอาทิตย์ ประกอบด้วยสว่ นท่ีส�ำคัญ คือ เปลอื กตน้ (Bark) และเนอ้ื ไม้ (Wood) ระหวา่ งเปลอื กตน้ กบั เนอ้ื ไมจ้ ะมเี ยอ่ื แคมเบยี ม (Cambium) เปน็ เนอ้ื เยอ่ื เจรญิ แบง่ เซลล์ ไปทางด้านนอกได้โฟลเอม (Phloem) อยู่ในชน้ั เปลอื ก และไปทางด้านในไดไ้ ซเลม (Xylem) ซ่งึ คือ เนื้อไม้ (ภาพที่ 3) ภาพท่ี 3 โครงสรา้ งของลำ�ต้นพืช (ดดั แปลงจาก University of Wikato) เปลือกนอก (Outer Bark) เป็นโครงสร้างที่ป้องกันจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพ อากาศ ความผดิ ปกตขิ องธรรมชาติ ตลอดจนการกระทบกระเทอื นอนั จะทำ� อนั ตรายแกพ่ ชื ถดั มาเปน็ เปลอื กใน (Inner Bark) มโี ฟลเอมทำ� หนา้ ทลี่ ำ� เลยี งอาหารจากใบสสู่ ว่ นอนื่ ๆ จงึ มกั มสี ารสำ� คญั ทางเคมี อยดู่ ว้ ย เช่น แทนนิน และสารประกอบอนื่ ๆ ซ่งึ เกดิ จากกระบวนการเมทาบอลิซมึ (Metabolism) กล่มุ วจิ ัยอนุสญั ญาไซเตสดา้ นพชื สำ� นักคมุ้ ครองพนั ธ์ุพชื กรมวชิ าการเกษตร

54 การจ�ำแนกเน้อื ไม้ / WOODS IDENTIFICATION เนอ้ื ไม้ (Wood) อยู่ถดั เขา้ มาจากเปลือกไม้มกี ระพี้ (Sap Wood) อยู่วงนอก และแก่น (Hearth Wood) อยวู่ งในมีสตี ่างกนั โดยทีก่ ระพจ้ี ะมีสีอ่อนกวา่ แก่น แต่พชื หลายชนิดก็ไมม่ คี วาม แตกต่างกัน เม่ือดดู ้านตัดขวางของไมจ้ ะพบวงปี (Annual Rings, Growth Ring) ซึง่ เกิดจากเจริญ เตบิ โตระหวา่ งตน้ ฤดู (Early Wood) กบั ปลายฤดู (Late Wood) แตกตา่ งกนั ชนดิ ไมใ้ นประเทศไทย ทเี่ หน็ วงรอบปชี ดั เจนมไี มก่ ช่ี นดิ ไดแ้ ก่ สกั ยมหอม กระถนิ เทพา เปน็ ตน้ เราสามารถนบั อายขุ องตน้ ไม้ ไมท้ อ่ น หรือแม้แต่ไมแ้ ปรรูปบางแผ่นได้จากเนอ้ื ไม้ที่มลี ักษณะวงปีน้ี ขอ้ ควรระวังในการนับอายุไม้ เพอื่ ให้ไดอ้ ายุใกล้เคียงความเปน็ จริงมากท่สี ุด ควรจะนับวงปีเนอ้ื ไมใ้ หใ้ กล้หรือชิดโคนต้นมากทีส่ ดุ ด้านของไม้ ด้านต่างๆ ของเนอื้ ไม้ เม่อื พจิ ารณาจากการตดั (Section) แบ่งออกได้เปน็ 3 ด้าน ได้แก่ (ภาพที่ 4) 1. ภาคตัดขวาง (Cross Section หรือ Transverse Section) คอื ดา้ นทเี่ กิดจากการ ตดั ไมใ้ นแนวขวางกบั แกนลำ� ตน้ เปน็ ดา้ นทม่ี คี วามสำ� คญั ในการตรวจชนดิ ไมโ้ ดยแวน่ ขยายมากกวา่ ดา้ นอนื่ ๆ 2. ภาคตดั แนวรศั มี (Radial Section) คอื ดา้ นเกิดจากการตดั ตามแนวของเรย์เซลล์ (Ray Cell) คอื เซลลท์ ท่ี อดตวั ตามแนวขวางของลำ� ตน้ จากใจกลาง (Pith) ออกไปหาเปลอื ก ไมแ้ ผน่ ซึ่งแปรรปู ใหม้ ีดา้ นกว้างขนานหรือเกอื บขนานกับดา้ นรศั มี เรียกว่า ไม้ผา่ สี่ (Quarter-Sawn หรอื Edge-Grained) 3. ภาคตดั ขนานเสน้ สมั ผสั (Tangential Section) คอื ดา้ นทเ่ี กดิ จากการตดั ตง้ั ฉากกบั เรย์เซลล์และยาวไปตามแนวแกนของล�ำต้น เป็นด้านเน้ือไม้รอบล�ำต้นที่เห็นเม่ือเอาเปลือกออก ไม้แผ่นท่ีมีด้านกว้างขนานหรือเกือบขนานกับด้านสัมผัส เรียกว่า ไม้ผ่าแบน (Flat-Sawn หรือ Plain-Sawn) หากเนอื้ ไมม้ ลี กั ษณะวงปชี ดั เจน เชน่ ไมส้ กั ไมแ้ ปรรปู ทไี่ ดโ้ ดยวธิ นี จี้ ะปรากฏลวดลาย บนแผ่นไมแ้ ปรรูปเปน็ รูปกรวยหรอื ลายภเู ขา

WOODS IDENTIFICATION / การจำ� แนกเนือ้ ไม้ 55 ภาพที่ 4 ดา้ นตัดตา่ ง ๆ ของไม้ ภาพท่ี 5 ลกั ษณะโครงสร้างของเซลลใ์ นเนอ้ื เยอ่ื พชื ใบเล้ียงคู่ กล่มุ วจิ ัยอนุสญั ญาไซเตสด้านพืช สำ� นกั คมุ้ ครองพนั ธุพ์ ชื กรมวชิ าการเกษตร

56 การจ�ำแนกเนื้อไม้ / WOODS IDENTIFICATION โครงสรา้ งทางกายวภิ าคของเนือ้ ไม้ มหกายวภิ าคของเนื้อไม้ (Macroanamy of Wood) 1. สี (Colour) หมายถึง สขี องแก่นและกระพ้ี ในการตรวจพสิ จู นไ์ ม้จะดูความแตกตา่ ง ระหว่างสีโดยท่ัวไปแก่นจะมีสีน�้ำตาลหรือโทนสีน้�ำตาล สีแดงหรือโทนสีแดง สีเหลืองหรือโทนสี เหลอื ง สขี าวหรือเทา สมี ว่ ง สีเขยี ว และสีดำ� เชน่ ไม้มะเกลอื เปน็ ต้น ความแตกต่างของสแี กน่ และกระพี้ แบง่ ได้ 2 กลุ่ม คือ สีของแก่นและสีของกระพไ้ี มไ้ ม่ แตกต่างกนั เชน่ ไม้ตีนเป็ด ยางพารา และสขี องแกน่ และกระพ้ีแตกตา่ งกนั โดยสีแกน่ จะมีสีทเ่ี ข้ม กว่าสกี ระพ้ี เชน่ ไมส้ ัก พะยูง เป็นต้น 2. ความมนั วาว (Luster) หมายถงึ คณุ สมบตั ขิ องเนอ้ื ไมท้ เี่ กย่ี วกบั การสะทอ้ นแสงโดย คำ� บรรยายทใี่ ช้ ไดแ้ ก่ เปน็ มนั วาว (Lustrous) และด้าน (Dull) 3. กล่ิน (Odor) และ รส (Taste) เฉพาะท่เี ป็นธรรมชาติของไม้ชนดิ นน้ั ๆ กล่าวคอื เป็นกลิ่นหรือรสที่เกิดจากสารที่อยู่ในแก่นไม้ ส่วนกล่ินหรือรสท่ีเกิดจากการกระท�ำของตัวการ ภายนอก เช่น เห็ดรา แบคทเี รีย ยสี ต์ จะไม่กลา่ วถึง และการทดสอบเกีย่ วกบั รส ต้องใหแ้ น่ใจว่า ปลอดภัยเพราะไม้บางชนิดมีสารที่เป็นอันตราย ตัวอย่างไม้ไทยท่ีมีกล่ินชัดเจน เช่น ไม้ประดู่ เทพธาโร การบรู ตะไคร้ต้น และท�ำมัง เปน็ ต้น 4. น�้ำหนัก (Weight) แสดงเป็นค่าความถ่วงจ�ำเพาะของไม้ (Specific Gravity) แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ ไม้น�้ำหนักเบา (ความถ่วงจ�ำเพาะ น้อยกว่า 0.40) ไม้น้�ำหนักปานกลาง (ความถว่ งจำ� เพาะ 0.40-0.75) และไม้หนกั (ความถว่ งจ�ำเพาะ มากกวา่ 0.75) 5. เสย้ี นเนอื้ ไม้ (Grain) หมายถงึ การเรยี งตวั ของเซลลไ์ ฟเบอรใ์ นเนอื้ ไม้ แบง่ เปน็ 4 แบบ ไดแ้ ก่ เสยี้ นตรง (Straight Grain) หมายถงึ เซลลไ์ ฟเบอรเ์ รยี งตวั ตรงในแกนตง้ั เสย้ี นบดิ (Spiral Grain) หมายถึงเซลล์ไฟเบอร์ตัวบิดเป็นเกลียว เสี้ยนสน (Interlocked Grain) หมายถึงเซลล์ไฟเบอร์ เรยี งตวั คลา้ ยเครอ่ื งหมายวงเลบ็ และเสยี้ นคลน่ื (Curly or Wavy Grain) หมายถงึ เซลลข์ องไฟเบอร์ เรยี งตัวคล้ายคลื่น

WOODS IDENTIFICATION / การจำ� แนกเนอ้ื ไม้ 57 6. ผิวสัมผัสเน้ือไม้ (Texture) หมายถึง ขนาดของเซลล์เนื้อไม้และความสม่�ำเสมอ ทง้ั ขนาดของเซลล์เนื้อไม้ โดยทว่ั ไปในเนือ้ ไม้ของพชื ใบเลี้ยงคู่ ถือเอาขนาดและจ�ำนวนของเวสเซล และเรย์ เปน็ หลกั ในการประมาณความหยาบละเอยี ดของเนอื้ ไม้ สว่ นในเนอ้ื ไมข้ องพชื เมลด็ เปลอื ย นั้น ถือเอาขนาดของเทรคีดเป็นหลัก ค�ำบรรยายท่ีใช้ ได้แก่ เนื้อไม้หยาบ (Coarse Texture) เนอ้ื ไม้หยาบปานกลาง (Medium Texture) และเนอื้ ไม้ละเอียด (Fine Texture) 7. ความแข็ง (Hardness) หมายถึง ค่าความแข็งแรงและความทนทานตามธรรมชาติ โดยใช้หลกั เกณฑ์จากหนงั สอื ของกรมปา่ ไม้ท่ี กส. 0702/6679 ลงวนั ที่ 3 พฤษภาคม 2517 ได้แบง่ ไมอ้ อกเป็น 3 ประเภท ดงั นี้ ไม้เนื้อออ่ น มคี วามแข็งแรงต่ำ� กว่า 600 กก./ลบ.ซม. มคี วามทนทานต�่ำกว่า 2 ปี เป็นไม้ ทเี่ ลื่อย ไส และตกแตง่ งา่ ย แตไ่ ด้ไม่มาก และไม่ทนทาน ตวั อย่าง เช่น ไมย้ างพารา ฉ�ำฉา กระทอ้ น และทุเรียน ไม้เนื้อแขง็ ปานกลาง มคี วามแขง็ แรง ระหว่าง 600-1,000 กก./ลบ.ซม. มีความทนทาน ระหว่าง 2-6 ปี เป็นไม้ที่เลื่อย ไส และตกแต่งได้ยาก เนื้อไม้จะแน่นกว่า มีลายไม้ละเอียดกว่า ไม้เนื้ออ่อน มีน�ำ้ หนกั มาก แข็งแรงทนทาน รับน�ำ้ หนกั ไดม้ าก ตัวอยา่ ง เช่น ไม้มะมว่ ง สน และ ยมหอม ไมเ้ นือ้ แข็ง มีความแขง็ แรงมากกวา่ 1,000 กก./ลบ.ซม. มคี วามทนทานมากกวา่ 6 ปี เป็นไม้ท่ีเลอื่ ย ไส และตกแต่งได้ยากมาก ลายไม้ละเอียดท่ีสุด มักน�ำมาใชท้ �ำโครงสร้างบ้าน เชน่ เสา พ้นื และคาน ทตี่ ้องรบั น�ำ้ หนักมาก ๆ ตวั อย่าง เช่น ไม้แดง ตะเคยี น เต็ง และสกั 8. ลักษณะการเล่ือย แบง่ ประเภทไมแ้ ปรรูปโดยดูจากวิธกี ารเลื่อย ได้แก่ (ภาพท่ี 6) ไม้ผ่าแบน (Flat Sawn, Plain Sawn) มีลักษณะเส้นวงปีที่ยาวไปตามความกว้าง ของหน้าไม้หรือท�ำมุมกับหน้าไม้ไม่เกิน 30° ลายบนหน้าไม้จะเป็นลายภูเขา เนื้อไม้มีการบิดตัว มากทีส่ ุด กลมุ่ วิจัยอนุสญั ญาไซเตสดา้ นพืช สำ� นกั คมุ้ ครองพันธพ์ุ ชื กรมวิชาการเกษตร

58 การจ�ำแนกเนอื้ ไม้ / WOODS IDENTIFICATION ไม้ผ่าเฉียง (Rift Sawn) มีลักษณะเส้นวงปีที่ท�ำมุมเฉียงกับหน้าไม้ หรือท�ำมุมระหว่าง 30°-60° มลี ักษณะลายบนหนา้ ไม้เป็นลายเสน้ ตรงเรียบๆ มีการบดิ งอน้อยกว่าแบบแรก ไม้ผ่าส่ี (Quarter Sawn) มีลักษณะเส้นวงปีที่ตั้งฉากกับหน้าไม้ หรือท�ำมุมกับหน้าไม้ ตง้ั แต่ 60°-90° มีลายบนหนา้ ไมต้ รงโดยมีลายพิเศษที่เห็นได้ชัดในไม้บางชนดิ เช่น ไม้โอค๊ ไมแ้ บบน้ี จะเปน็ ไม้ท่มี ีความเสถียรทางด้านรูปทรงมากที่สดุ ภาพที่ 6 ลักษณะการเล่ือยและแผน่ ไม้ประเภทตา่ งๆ (ดดั แปลงจาก Carbide Processors Blog)

WOODS IDENTIFICATION / การจ�ำแนกเนอ้ื ไม้ 59 เซลล์องค์ประกอบเน้ือไม้ เซลล์ต่าง ๆ ในเนือ้ ไม้ แบ่งออกตามลักษณะการทำ� งานได้ 3 ประเภท ดงั นี้ (ตารางที่ 1, ภาพท่ี 5) 1. เซลลท์ อ่ ลำ� เลยี งนำ�้ -อาหาร (Conducting Cell) ในเนอ้ื ไมข้ องพชื เมลด็ เปลอื ย (Soft wood) เซลลท์ ท่ี ำ� หนา้ ทีล่ �ำเลยี งนำ้� คอื เทรคีด (Tracheid) มีลักษณะยาว ปลายเรยี ว สว่ นในเน้ือไม้ ของพชื ใบเลย้ี งคู่ (Hardwood) ไดแ้ ก่ เทรคดี และเวสเซล (Vessel) มลี กั ษณะเปน็ ทอ่ ยาวตอ่ เนอ่ื งกนั เปน็ ลักษณะทส่ี �ำคญั ในการจำ� แนกเน้อื ไม้ 2. เซลลใ์ หค้ วามแขง็ แรง (Supporting Cell) ในเนอ้ื ไมข้ องพชื เมลด็ เปลอื ย เซลลท์ ท่ี ำ� หนา้ ที่ให้ความแข็งแรง คือ เทรคีด สว่ นในเนอ้ื ไม้ของพชื ใบเลีย้ งคู่ ได้แก่ ไฟเบอร์ (Fiber) มีลกั ษณะ ยาวเรยี ว หวั แหลม ท้ายแหลม 3. เซลลเ์ ก็บสะสมอาหาร (Storage Cell) ในเนอ้ื ไม้ของพชื เมลด็ เปลอื ย และเนื้อไม้ ของพชื ใบเล้ยี งคู่เซลลท์ ่ที ำ� หนา้ ทีเ่ กบ็ สะสมอาหาร คือ เซลลพ์ าเรงคมิ า (Parenchyma) ซงึ่ จะพบ ท้งั เซลล์ทเ่ี รียงตวั ในแนวตัง้ (Axial Parenchyma) และเรยี งตัวในแนวรัศมี (Ray Parenchyma) ซึ่งเซลลช์ นดิ นม้ี ลี กั ษณะเดน่ ต่าง ๆ ทีช่ ว่ ยในการจำ� แนกเน้อื ไม้ได้ ตารางที่ 1 สรุปหนา้ ที่และผนงั เซลลป์ ระเภทต่าง ๆ (ดัดแปลงจาก Dinwoodie, 1981) เซลล์ พชื เมลด็ เปลือย พืชใบเลี้ยงคู่ หนา้ ท่ี ผนังเซลล์ พาเรงคิมา พบ พบ สะสมอาหาร บาง เทรคีด พบ ใหค้ วามแขง็ แรง หนา พบน้อย ท่อล�ำเลยี งน้ำ� -อาหาร ไฟเบอร์ ไม่พบ ให้ความแขง็ แรง หนา เวสเซล ไมพ่ บ พบ ท่อล�ำเลยี งนำ�้ -อาหาร หนา พบ กลุ่มวจิ ยั อนสุ ัญญาไซเตสดา้ นพชื ส�ำนกั คุม้ ครองพนั ธุ์พชื กรมวชิ าการเกษตร

60 การจ�ำแนกเนอ้ื ไม้ / WOODS IDENTIFICATION จุลวภิ าคของเน้ือไม้ (Microanatomy of Wood) ในเน้ือไม้ของพืชดอก โดยเฉพาะพืชใบเลีย้ งคูป่ ระกอบด้วยเซลล์ 3 ชนิด ไดแ้ ก่ เวลเซล ไฟเบอร์ และพาเรงคิมา เท่านั้น อย่างไรก็ตามรูปแบบของเซลล์ดังกล่าว อาจผันแปรไปตาม วิวัฒนาการของพชื และสง่ิ แวดล้อม 1. เวสเซล (Vessels) หรือพอร์ (Pores) เป็นเซลลร์ ปู ทรงกระบอก ในระยะแรกจะมี ผนังเซลล์ปิดหัวท้าย เม่ือเจริญเต็มที่แล้วจะไม่มีชีวิต ผนังเซลล์บริเวณปลายไม่ได้หายไปหมด คงเหลือไว้ท�ำให้เราเห็นเป็นรอยคล้ายตะแกรงเรียกว่า Perforation เมื่อพิจารณาขนาดและการ กระจายของเวสเซล หรือพอร์ ในเนือ้ ไม้ สามารถจำ� แนกไม้ไดเ้ ปน็ 3 กลุม่ ดังนี้ - ไมพ้ อร์วง (Ring-Porous Wood) เชน่ เนือ้ ไม้ที่ขนาดความกวา้ งของเซลล์แตกต่าง กนั อยา่ งชัดเจนระหว่างเนือ้ ไมต้ ้นฤดู และปลายฤดู เช่น ไมส้ ัก เลีย่ น (ภาพท่ี 7 ก) - ไมพ้ อรก์ ง่ึ วง (Semi-Ring-Porous Wood) เนอื้ ไม้ที่ขนาดความกวา้ งของเซลลแ์ ตก ต่างกนั เลก็ นอ้ ยระหวา่ งเนือ้ ไม้ต้นฤดู และปลายฤดู เชน่ ไม้อนิ ทนิลบก (ภาพท่ี 7 ข) - ไม้พอร์กระจาย (Diffuse-Porous Wood) เนื้อไม้ที่ขนาดความกว้างของเซลล์ เท่าๆ กันตลอดทัง้ เนื้อไม้ตน้ ฤดู และปลายฤดู ตัวอย่าง เช่น ไมร้ ัง สยาขาว (ภาพที่ 7 ค) ก ข ค ภาพท่ี 7 ลักษณะของพอร์ในเนื้อไม้ (ก) ไม้พอร์วงของไม้เล่ียน (ข) ไม้พอร์กึ่งวงของ ไม้อินทนิลบก และ (ค) ไม้พอรก์ ระจายของไมส้ ยาขาว

WOODS IDENTIFICATION / การจำ� แนกเนอื้ ไม้ 61 การจบั กลมุ่ ของพอร์ แบ่ง 2 แบบ ไดแ้ ก่ - พอรเ์ ดย่ี ว หมายถงึ ลกั ษณะเนอื้ ไมท้ ม่ี พี อรเ์ ดยี่ ว มากกวา่ 90 เปอรเ์ ซน็ ต์ ของพอรท์ พ่ี บ เชน่ ไม้กระบาก ชมุ แสง ง้วิ (ภาพท่ี 8 ก) - พอร์แฝด หมายถงึ ลักษณะของพอรต์ ั้งแต่ 2 พอร์ ขึน้ ไป และมีผนงั เซลลเ์ ชอ่ื มตดิ กัน แบง่ ออกไดเ้ ปน็ 3 แบบ ไดแ้ ก่ พอร์แฝดแบบส้ัน 2-3 พอร์ เรียงตามแนวเส้นเรย์ (Short 2–3 Vessels Radial Rows) เชน่ ไมก้ ำ� ยาน หว้า (ภาพท่ี 8 ข) พอรแ์ ฝดแบบยาว มากกว่า 4 พอร์ เรยี งตามแนวเส้นเรย์ (Radial Rows of 4 or More) เชน่ ไม้จิกนม ก้านเหลือง และชากุน (ภาพท่ี 8 ค) พอรก์ ลุม่ (Cluster Pores) เช่น ไม้กอ่ บนุ นาค (ภาพท่ี 8 ง) ก ข ค ง ภาพที่ 8 ประเภทของพอร์ (ก) พอร์เด่ียวในไม้กระบาก (ข) พอร์แฝด 2-3 พอร์ ในไม้กำ�ยาน (ค) พอร์แฝด มากกว่า 4 พอร์ ในไม้จิกนม และ (ง) พอร์ กลุ่มในไมก้ ่อ (Castanopsis sp.) กลมุ่ วจิ ัยอนสุ ัญญาไซเตสด้านพืช ส�ำนักคุม้ ครองพันธพ์ุ ชื กรมวิชาการเกษตร

62 การจ�ำแนกเนอื้ ไม้ / WOODS IDENTIFICATION การเรยี งตวั เวสเซล (Vessel Arrangement) หมายถงึ การเรยี งตวั ของพอรเ์ ดย่ี วแบง่ 3 ลกั ษณะ ไดแ้ ก่ - เวสเซลเรยี งตวั เปน็ แถบตามดา้ นสมั ผสั (Vessels in Tangential Bands) เชน่ ไมย้ มหอม (ภาพท่ี 9 ก) - เวสเซลเรยี งตัวเสน้ ทแยงมมุ และ/หรือตามแนวรัศมี (Vessels in Diagonal and/or Radial Pattern) เชน่ ไมบ้ ุนนาค (ภาพท่ี 9 ข) - เวสเซลเรยี งเปน็ กลมุ่ หรอื แบบแผน (Vessels in Dendritic Pattern) เชน่ ไมส้ นประดพิ ทั ธ์ (ภาพที่ 9 ค) ก ข ค ภาพท่ี 9 ลักษณะเวสเซลเรียงตัวพอร์เด่ียว (ก) เวสเซลเรียงตัวเป็นแถบตามด้านสัมผัสใน ไม้ยมหอม (ข) เวสเซลเรียงตัวเส้นทแยงมุม และ/หรือตามแนวรัศมีในไม้บุนนาค และ (ค) เวสเซลเรยี งเปน็ กลมุ่ หรอื แบบแผนในไมส้ นประดพิ ทั ธ์

WOODS IDENTIFICATION / การจำ� แนกเน้อื ไม้ 63 สิ่งท่ีอยู่ในพอร์ เวสเซล หรือพอร์ในแก่นไม้ไม่ได้ท�ำหน้าที่ในการล�ำเลียงแล้ว มักจะถูก อดุ ด้วยยาง (Gum) สารสะสม (Deposite) หรือถกู อุดด้วยไทโลสิส (Tylosis) (ภาพท่ี 10) - ไทโลซสี ปรากฏอยใู่ นพอร์ ซงึ่ มลี กั ษณะคลา้ ยฟองอากาศ เกดิ ขน้ึ ไดจ้ ากความแตกตา่ ง ของความดนั ระหวา่ งเซลลพ์ าเรงคิมากบั พอรซ์ ึง่ มผี นงั เซลล์อยตู่ ดิ กนั เช่น ไม้เต็ง รงั มะหาด และ รกฟา้ (ภาพท่ี 10 ก) - ยางไม้ มีลักษณะเป็นก้อน ๆ โดยปกติจะพบเป็นกระจุกอยู่เป็นแห่ง ๆ ในพอร์ เช่น ไมม้ ะคา่ โมง ไมว้ งศ์ยาง มะฮอกกานี (ภาพที่ 10 ข) - ดีพอซิท มีลักษณะคล้ายผง มีสีแตกต่างกัน อยู่ในเวสเซล พาเรงคิมา เช่น หลุมพอ ตาเสอื มดี ีพอซทิ สเี หลือง (ภาพท่ี 10 ค) และมะคา่ โมง ลำ� ไย มดี พี อซทิ สีขาว (ภาพที่ 10 ง) ก ค ค ง ภาพท่ี 10 สิ่งที่อยู่ในพอร์ (ก) ไทโลสในพอร์ของไม้มะหาด (ข) ยางไมใ้ นพอรข์ องไมม้ ะฮอกกานี (ค) ดพี อซทิ สีส้มหรอื เหลืองของไม้ตาเสอื และ (ง) ดีพอซิทสีขาวของไม้ลำ�ไย กลุม่ วิจัยอนุสัญญาไซเตสดา้ นพชื สำ� นกั คุ้มครองพันธพ์ุ ชื กรมวชิ าการเกษตร

64 การจำ� แนกเนอื้ ไม้ / WOODS IDENTIFICATION 2. พาเรงคิมา (Parenchyma) เป็นเซลล์รูปส่ีเหลี่ยมผนังบาง และยังมีชีวิตอยู่ พบทง้ั เซลลท์ เี่ รยี งตวั ในแนวตง้ั (Axial Parenchyma) และเรยี งตวั ในแนวรศั มี (Ray Parenchyma) 2.1 เซลลพ์ าเรงคมิ าท่ีเรียงตัวในแนวตงั้ (Axial Parenchyma) เม่ือมองด้านตดั ขวาง มสี จี างกวา่ สเี นอื้ ไม้ มองเหน็ ชดั เมอ่ื อยรู่ วมกนั เปน็ กลมุ่ แบง่ ออกเปน็ 3 ประเภท ไดแ้ ก่ พาเรงคมิ าแบบ ไมต่ ดิ พอร์ (Apotracheal Parenchyma) พาเรงคิมาแบบติดพอร์ (Paratracheal Parenchyma) และพาเรงคมิ าแบบแถบ (Banded Parenchyma) 2.1.1 พาเรงคิมาแบบไม่ติดพอร์ หมายถึง ลักษณะของเซลล์หรือกลุ่มเซลล์ พาเรงคมิ าไมอ่ ยตู่ ดิ กบั เซลลพ์ อร์ แบง่ ได้ 2 ลกั ษณะ คอื พาเรงคมิ าแบบกระจาย (Diffuse Parenchyma) และพาเรงคิมาแบบกลมุ่ กระจาย (Diffuse-in-Aggregates Parenchyma) - พาเรงคิมาแบบกระจาย หมายถึง เซลล์พาเรงคมิ าทอ่ี ยกู่ ระจัดกระจาย เปน็ เซลล์เดย่ี วหรือเป็นแถวเป็นกลุม่ อยู่ในเนอ้ื ไมป้ ะปนไปกบั ไฟเบอร์ โดยปกติแลว้ จะเห็นได้ชดั ใน กลอ้ งจุลทรรศน์ และหากอยูร่ วมเป็นกลมุ่ เปน็ แนวจะเหน็ ไดด้ ้วยแว่นขยาย มลี ักษณะสจี างกวา่ เน้อื ไม้ เช่น ไมต้ ะเคียนทอง (ภาพท่ี 11 ก) - พาเรงคิมาแบบกล่มุ กระจาย หมายถึง พาเรงคิมาแบบกระจายรวมตัว กนั เปน็ ลกั ษณะเสน้ เลก็ สนั้ ๆ จากเรยห์ นงึ่ ในไมบ้ างชนดิ เสน้ เลก็ สน้ั ๆ อนั เกดิ พาเรงคมิ าแบบกระจาย เป็นแนวอยา่ งสม่�ำเสมอโดยท่วั ไปจากเรยส์ เู่ รย์ข้างเคียง สลบั กบั เนอื้ ไม้ ท�ำใหเ้ กิดเป็นลักษณะเห็น เปน็ เสน้ สั้นๆ ในระว่างชอ่ งเรยโ์ ดยทั่วไปในเน้ือไม้ เช่น ไมก้ ระเจยี น (ภาพที่ 11 ข)

WOODS IDENTIFICATION / การจ�ำแนกเนือ้ ไม้ 65 ก ข ภาพท่ี 11 พาเรงคมิ าแบบไมต่ ดิ พอร์ (ก) พาเรงคมิ าแบบกระจายของไมต้ ะเคยี นทอง และ (ข) พาเรงคมิ าแบบกลมุ่ กระจายของไมก้ ระเจยี น ก ข ค ภาพที่ 12 พาเรงคิมาที่ติดพอร์ (ก) พาเรงคิมาแบบล้อมรอบพอร์ของไม้กระถินเทพา (ข) พาเรงคมิ าแบบปกี ของไม้มะยมปา่ และ (ค) พาเรงคมิ าแบบปีกต่อของไมร้ กฟ้า กลุม่ วิจยั อนุสญั ญาไซเตสด้านพืช ส�ำนักคุ้มครองพนั ธ์ุพชื กรมวชิ าการเกษตร

66 การจ�ำแนกเนือ้ ไม้ / WOODS IDENTIFICATION 2.1.2 พาเรงคมิ าทตี่ ดิ พอร์ หมายถงึ ลกั ษณะของเซลลห์ รอื กลมุ่ เซลลพ์ าเรงคมิ าตดิ กบั พอรบ์ างสว่ น แบง่ ได้ 3 ลกั ษณะ ไดแ้ ก่ พาเรงคมิ าแบบลอ้ มรอบพอร์ (Vasicentric Parenchyma) พาเรงคมิ าแบบปกี (Aliform Parenchyma) และพาเรงคมิ าแบบปกี ตอ่ (Confluent Parenchyma) - พาเรงคมิ าแบบลอ้ มรอบพอร์ คอื กลมุ่ เซลลพ์ าเรงคมิ าทอี่ ยลู่ อ้ มพอรโ์ ดย รอบ เชน่ ไม้กระถนิ เทพา (ภาพท่ี 12 ก) - พาเรงคมิ าแบบปกี คอื กลุ่มเซลล์พาเรงคิมาท่ีอยู่ตดิ พอรแ์ ละล้อมพอร์ โดยรอบ และยงั ยนื่ ออกไปด้านขา้ งคล้ายปกี เช่น ไม้มะคา่ โมง พฤกษ์ (ภาพท่ี 12 ข) - พาเรงคมิ าแบบปีกต่อ คอื กลมุ่ เซลลพ์ าเรงคมิ าแบบปกี แต่มลี กั ษณะท่ี เพ่ิมขึ้น คือ ปีก ท่ีย่ืนออกไปน้ันมีลักษณะยาวไปเชื่อมต่อกับปีกข้างเคียง เช่น ไม้รกฟ้า (ภาพท่ี 12 ค) 2.1.3 พาเรงคมิ าแบบแถบ คอื เสน้ แนวหรอื แถบพาเรงคมิ าทปี่ รากฏในแนวสมั ผสั และเปน็ เซลลพ์ าเรงคมิ าทไี่ มอ่ ยตู่ ดิ กบั พอร์ เหน็ เปน็ สจี างกวา่ เนอ้ื ไม้ มแี นวไปตามแนวของวงปี โดย มจี ุดศูนยก์ ลางร่วมกนั แบ่งออกเปน็ 5 ลกั ษณะ ไดแ้ ก่ พาเรงคมิ าต้นฤด/ู ปลายฤดู (Terminal or initial parenchyma) พาเรงคิมาแบบเป็นเส้นเล็กๆ (Fine Line) พาเรงคมิ าแบบแถบเลก็ (Broad Band) พาเรงคมิ าแบบแถบขนาดใหญ่ (Broad Conspicuous Band) พาเรงคิมาตดั แบบตาขา่ ย (Reticulate Parenchyma) และพาเรงคมิ าแบบบนั ได (Scalariform Parenchyma) - พาเรงคมิ าตน้ ฤด/ู ปลายฤดู Terminal Parenchyma คอื เซลลพ์ าเรงคมิ า ทอ่ี ยตู่ อ่ เนอ่ื งกนั เปน็ แถบแนวยาวเปน็ เสน้ เลก็ ไปโดยรอบเชน่ เดยี วกบั วงปี เกดิ ในระยะปลายฤดหู รอื สนิ้ สดุ ฤดกู ารเจรญิ เตบิ โต มขี นาดโตพอเหน็ ไดด้ ว้ ยตาเปลา่ สว่ น Initial Parenchyma ใชเ้ รยี กเซลล์ พาเรงคมิ าทม่ี ักลักษณะเชน่ เดยี วกัน แตเ่ ริม่ ตน้ เม่อื ตน้ ฤดกู ารเจริญเติบโต จะเห็นเปน็ เส้นแถบยาว คลา้ ยเสน้ วงรอบปเี หมอื นกนั ถงึ แมว้ า่ ดดู ว้ ยกลอ้ งจลุ ทรรศนห์ รอื แวน่ ขยายเปน็ การยากทจี่ ะบอกได้ วา่ แถบ ดงั กลา่ วนน้ั เปน็ Terminal หรอื Initial Parenchyma จงึ อนโุ ลมใชเ้ รยี กรวมกนั เชน่ จำ� ปาปา่ เป็นต้น (ภาพที่ 13 ก)

WOODS IDENTIFICATION / การจำ� แนกเนอ้ื ไม้ 67 - พาเรงคมิ าแบบเปน็ เสน้ เลก็ ๆ คอื พาเรงคมิ าทจี่ ำ� นวนเซลล์ 1 เซลล์ เรยี ง ต่อกนั เปน็ แถว เชน่ ไมพ้ ะยงู และประดู่ (ภาพท่ี 13 ข) - พาเรงคมิ าแบบแถบเล็ก ลกั ษณะน้เี หน็ ได้ชดั ด้วยตาเปล่า เช่น ไม้สะตอื และมะพอก (ภาพที่ 13 ค) - พาเรงคิมาแบบแถบขนาดใหญ่ หมายถึง เซลล์พาเรงคิมารวมตัวกันมี ลกั ษณะเป็นแถบขนาดใหญ่หรอื มากกวา่ เทา่ กับพอร์ของเน้อื ไมช้ นิดน้ันขึ้นไปเรียกวา่ เช่น ไม้สมอ พเิ ภก ขะเจ๊าะ ไทร และแซะ (ภาพที่ 13 ง) - พาเรงคมิ าแบบตาขา่ ย หมายถงึ เซลลพ์ าเรงคมิ าทเี่ ปน็ แบบเปน็ เสน้ เลก็ ๆ แบบแถบเลก็ และแบบแถบขนาดใหญ่ ซงึ่ มขี นาดเทา่ กนั หรอื ใกลเ้ คยี งกบั ขนาดของเรย์ และระหวา่ ง เสน้ แถบนนั้ กบั ระยะหา่ งระหวา่ งเรยใ์ กลเ้ คยี งกนั จะทำ� ใหเ้ กดิ เปน็ ลกั ษณะเปน็ ตารางสเ่ี หลย่ี มเกดิ ขน้ึ เช่น ไม้ตองจิง หรอื มะปิน และ เขลง (ภาพที่ 13 จ) - พาเรงคิมาแบบบนั ได หมายถงึ ลักษณะของขนาดพาเรงคมิ ากบั ขนาด ของเสน้ เรย์มีขนาดไมเ่ ท่ากนั หรอื แตกตา่ งกันชดั เจน แตม่ องเห็นตดั กนั เป็นรปู สี่เหลย่ี ม เชน่ ไม้ไทร (ภาพท่ี 12 ฉ) ข้อสงั เกตเพมิ่ เติม พาเรงคมิ าแบบเป็นเส้นเล็กๆ และพาเรงคมิ าแบบแถบ เลก็ นน้ั ความยาวของเสน้ แถบพาเรงคมิ าทตี่ ดั ผา่ นเรยห์ ลายอนั สว่ นในพาเรงคมิ าแบบกลมุ่ กระจาย แถบพาเรงคมิ าจ�ำกัดอยู่ระหวา่ งเรย์ตอ่ เรย์ กลุ่มวจิ ยั อนสุ ัญญาไซเตสด้านพืช ส�ำนกั คุ้มครองพนั ธุพ์ ชื กรมวชิ าการเกษตร

68 การจ�ำแนกเนอ้ื ไม้ / WOODS IDENTIFICATION ก ข ค ง จ ฉ ภาพท่ี 13 พาเรงคิมาแบบแถบ (ก) พาเรงคิมาตน้ ฤดูของไมจ้ ำ�ปาปา่ (ข) ลักษณะพาเรงคมิ า แบบเปน็ เส้นเลก็ ๆ (fine line) ของไมป้ ระดู่ (ค) พาเรงคมิ าแบบแถบเลก็ ของไม้ มะพอก (ง) พาเรงคมิ าแบบแถบขนาดใหญ่ของไมส้ าธร (จ) พาเรงคมิ าแบบตาข่าย ของไม้ตองจงิ และ (ฉ) พาเรงคิมาแบบบนั ไดของไม้ไทร

WOODS IDENTIFICATION / การจำ� แนกเน้อื ไม้ 69 2.2 เรย์ (Rays) คือ กลุ่มเซลล์พาเรงคิมา ที่เรียงตัวต่อเนื่องกันไปตามแนวรัศมีของ ตน้ ไม้ ปรากฏบนด้านตัดขวางของเนื้อไม้เป็นเส้นยาวออกไปตามรัศมี มที ง้ั ขนาดเลก็ และใหญ่จน มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ในการตรวจพิสูจน์ไม้ พิจารณาเก่ียวกับลักษณะของเรย์ท้ังด้านตัดขวาง และดา้ นสัมผัส ดังนี้ ด้านสัมผัส ลักษณะเรย์เป็นชั้น ๆ (Ripple Mark) หรือไม่ เช่น ไม้เขลง สีเสียดเปลอื ก (ภาพที่ 14 ก) ดา้ นตัดขวาง การมองเหน็ (มี เหน็ ไดแ้ ต่ไม่ชดั เจนหรอื ไม่มี) ขนาดของเรยท์ เี่ หน็ เรยม์ สี องขนาด (Two Distinct Sizes) และเรย์มีขนาดเดยี ว (One Size) และเปน็ ลักษณะเรย์รวม (Aggregate Rays) เช่น ไม้สนประดพิ ัทธ์ ก่อ เฉยี งพรา้ นางแอ มะกอก (ภาพที่ 14 ข) ก ข ภาพที่ 14 (ก) ลกั ษณะเรยเ์ ปน็ ชน้ั หรอื Ripple Mark ในไมเ้ ขลง และ (ข) ลกั ษณะโครงสรา้ ง ของไม้กอ่ ซงึ่ มีลักษณะของเรย์รวม (Aggregate Rays) A เป็นลักษณะเดน่ ขนาดของเรยม์ คี วามแตกตา่ งกนั C และ B พอร์เปน็ แบบพอรเ์ ดีย่ ว และบางพอร์ ดโี พสทิ สีขาว กล่มุ วจิ ัยอนสุ ัญญาไซเตสดา้ นพืช สำ� นักคมุ้ ครองพันธุ์พืช กรมวชิ าการเกษตร

70 การจ�ำแนกเน้ือไม้ / WOODS IDENTIFICATION 3. ลักษณะพิเศษอนื่ (Special Character) ท่ใี ชใ้ นการตรวจพิสจู น์ไม้ ได้แก่ โฟลเอม็ ในไม้ (Included Phloem) และท่อระหวา่ งเซลล์ (Intercellular Canals) 3.1 โฟลเอม็ ในไม้ คอื กลมุ่ หรอื แนวโฟลเอม ทรี่ วมอยเู่ ปน็ กระจกุ ในเนอื้ ไม้ เปน็ ผลเนอ่ื ง มาจากการเจรญิ เตบิ โตอยา่ งผดิ ปกตขิ องแคมเบยี ม จนกลายเปน็ ลกั ษณะเฉพาะของไมบ้ างชนดิ เชน่ ไมก้ ฤษณา ทองบ้งึ แสลงโทน แสลงใจ เป็นต้น (ภาพที่ 15) ก ข ค ภาพท่ี 15 โฟลเอม็ ในไม้ (ก) ไม้กฤษณา (ข) ไมท้ องบง้ึ และ (ค) ไม้แสลงใจ

WOODS IDENTIFICATION / การจำ� แนกเนอ้ื ไม้ 71 3.2 ท่อระหว่างเซลล์ แบ่งตามลักษณะได้ 3 แบบ ได้แก่ แถบทอ่ ยางไม้แบบยาว (Gum Vein in Long Tangential Lines) ซึง่ มที ่อตอ่ กนั มากวา่ 5 ท่อ เชน่ ไมแ้ อก๊ เป็นตน้ (ภาพท่ี 16 ก) แถบท่อยางไม้แบบส้ัน (Gum Vein in Short Tangential Lines) มีท่อตอ่ กนั 2-5 ท่อ เชน่ ไมย้ าง เปน็ ต้น (ภาพท่ี 16 ข) ท่อยางไม้ (Gum Duct, Resin Canals) คอื ท่อยางหรือท่อชันนำ้� มัน ทีม่ กั พบ ในไม้หลายชนดิ มลี ักษณะทีเ่ หน็ ได้ด้วย แว่นขยาย คอื ตรงพอรม์ ีคราบน้ำ� มนั และในบางชนดิ ในรู มีชนั อดุ อยู่ จะพบในไม้สกลุ ยางนา (Dipterocarpus spp.), สกลุ เตง็ (Shorea spp.), สกลุ มะคา่ แต้ (Sindora spp.) และสกลุ กระบาก (Anisoptera spp.) เป็นตน้ (ภาพที่ 16) ทอ่ ยางไมใ้ นดา้ นตดั ขวางจะเปน็ แนวทอ่ ตงั้ ตรงไปตามแกนลำ� ตน้ แตใ่ นไมบ้ างชนดิ จะมีท่อยางไม้เรียงต่อไปเปน็ เส้นยาว เชน่ ไมต้ ะเคยี นทอง รัง เป็นต้น ก ข ภาพท่ี 16 ลกั ษณะท่อยางไม้ (ก) แบบยาว ของไมแ้ อก๊ และ (ข) แบบส้นั ของไมย้ าง กลมุ่ วิจัยอนุสญั ญาไซเตสด้านพชื ส�ำนกั ค้มุ ครองพันธพุ์ ชื กรมวิชาการเกษตร

72 การจำ� แนกเนือ้ ไม้ / WOODS IDENTIFICATION ความร้อู ื่นๆ ที่ใช้ในการตรวจจำ�แนกเนื้อไม้ ชอ่ื (Names) ชื่อเรียกไม้ไม่ว่าจะเป็นช่ือวิทยาศาสตร์ (Scientific Name) ช่ือท้องถิ่น (Vernacular Name) ชอื่ การคา้ (Trade Name) ชอื่ สามญั (Common Name) และชอ่ื วงศ์ (Family) ของตวั อยา่ ง ไมท้ ตี่ รวจจำ� แนก หากทราบกจ็ ะทำ� ใหง้ า่ ยตอ่ การตรวจระบชุ นดิ ของไมย้ ง่ิ ขน้ึ ชอื่ วทิ ยาศาสตร์ เปน็ ชอ่ื สากลทใ่ี ชเ้ รยี กสง่ิ มชี วี ติ แตล่ ะชนดิ และมชี อ่ื ทถี่ กู ตอ้ งเพยี งชอื่ เดยี ว โดยการตัง้ และการเขียนชอื่ วทิ ยาศาสตร์ของพืชเปน็ ไปตามหลักเกณฑ์ ICN (International Code of Nomenclature for Algae, Fungi, and Plants) โดยชอื่ วทิ ยาศาสตร์จะเปน็ ภาษาละตนิ หรือ ภาษาอืน่ ทแี่ ปลงเปน็ ละตนิ (Latinized) เทา่ น้นั ชื่อวิทยาศาสตร์ประกอบไปด้วย ค�ำแรกคอื ช่อื สกลุ (Generic Name) ข้นึ ต้นด้วยอกั ษร ตวั ใหญ่ ค�ำทสี่ องคอื ค�ำระบชุ นิด (Specific Epithet) ขน้ึ ตน้ ด้วยอักษรตัวเลก็ ช่ือสกุลและค�ำระบุ ชนิด รวมกันกห็ มายถงึ ชอื่ ชนิด (Species Name) ของพชื น้ัน ซงึ่ เขยี นดว้ ยตวั เอยี ง หนา หรือขดี เส้นใตก้ ็ได้ และค�ำทีส่ ามคอื ชอื่ ของผู้ตง้ั ชอ่ื พชื (Author Name) เขียนด้วยตัวปกติ ตัวอยา่ ง เช่น ชือ่ วิทยาศาสตร์ของ สกั Tectona grandis L. Tectona grandis L. Tectona grandis L. ชอ่ื สกุล คำ� ระบชุ นดิ ผ้ตู ้งั ชือ่ ชื่อท้องถิ่นหรือช่ือพ้ืนเมือง เป็นช่ือเรียกต้นไม้หรือไม้ในแต่ละท้องถ่ิน ซ่ึงชื่อเรียกนี้จะมี ความหลากหลายและทำ� ให้สับสนในการสอ่ื สาร เช่น ไมส้ ัก มีชอ่ื เรียกอน่ื ตามท้องถนิ่ เคาะเยยี โอ (ละวา้ เชียงใหม่) เป้อยี (กะเหรยี่ ง แมฮ่ ่องสอน) สกั (กลาง, สุราษฎร์ธานี) เป็นต้น ช่ือการค้า เป็นชื่อที่ใช้เรียกไม้ในการค้า ไม้บางชนิดอาจจะมีชื่อเรียกเพียงช่ือเดียวและ เข้าใจกนั ได้ทั่วโลก แตไ่ มห้ ลายชนดิ ท่มี ชี อื่ การคา้ หลายช่ือ

WOODS IDENTIFICATION / การจ�ำแนกเน้ือไม้ 73 ชอื่ สามญั เปน็ ชอื่ เรยี กพชื ในภาษาองั กฤษหรอื ภาษาอนื่ ทเ่ี ขยี นอยใู่ นรปู ภาษาองั กฤษ ชอ่ื สามญั และชือ่ การคา้ มักเป็นชอื่ เดียวกนั เช่น ไมส้ กั มชี ือ่ สามญั และช่อื การคา้ ว่า Teak ถน่ิ กำ�เนดิ และการกระจายพันธุ์ (Geographical Distribution) การทราบแหลง่ ท่มี าของไม้เป็นข้อมูลส�ำคญั ประการหนง่ึ ในการตรวจพสิ ูจนไ์ ม้ เพราะไม้ บางชนดิ มกี ารกระจายพนั ธเ์ุ ฉพาะถนิ่ พบไดห้ รอื ทำ� เปน็ สนิ คา้ ไมส้ ง่ ออกเฉพาะภมู ภิ าคใดภมู ภิ าคหนงึ่ เทา่ นน้ั เชน่ ไมเ้ ตง็ (Shorea obtusa) พบไดเ้ ฉพาะ ไทย ลาว พมา่ และกมั พชู า เทา่ นนั้ International Association of Wood Anatomists (IAWA) ไดจ้ ัดจำ� แนกแหล่งกำ� เนิดของไม้เป็นภมู ภิ าคต่างๆ (ภาพท่ี 17) ภาพท่ี 17 แสดงถนิ่ กำ�เนดิ ของไม้ (IAWA, 1989) กลุม่ วิจยั อนสุ ญั ญาไซเตสด้านพืช สำ� นักคุม้ ครองพนั ธพุ์ ืช กรมวชิ าการเกษตร

74 การจ�ำแนกเนือ้ ไม้ / WOODS IDENTIFICATION อปุ กรณแ์ ละวิธกี ารตรวจจำ�แนกไมโ้ ดยใช้แฮนดเ์ ลนส์ ก. อุปกรณ์ การตรวจชนิดไม้โดยวิธีน้ีแม้ว่าจะเป็นเร่ืองท่ีค่อนข้างยาก แต่อุปกรณ์หรือเครื่องมือ สามารถหาได้ท่ัวไป ได้แก่ 1. แฮนดเ์ ลนส์หรือแวน่ ขยาย ก�ำลังขยาย 10-15 เท่า 2. มีดเฉอื นไม้ ควรใช้มดี คม หรือมีดคตั เตอร์ทมี่ ีใบมีดขนาดใหญเ่ พื่อความปลอดภัย 3. ชิน้ ไมต้ ัวอย่างทที่ ราบชนิดแลว้ แนะนำ� ให้เปน็ สว่ นแกน่ ไมห้ รือแวน่ เขยี งไม้ 4. เอกสาร คู่มอื หนังสอื เกีย่ วกับภาพหนา้ ตดั ไม้หรือข้อมลู ลกั ษณะโครงสรา้ งไม้ ข. วธิ ีการตรวจพิสจู น์ไม้ 1. นำ� ตวั อยา่ งไมท้ ต่ี อ้ งการตรวจพิสูจน์ ศึกษาข้อมูลเกี่ยวขอ้ งทว่ั ไป (ภาคที่ 1) 2. ใชม้ ดี ท่ีเฉือนดา้ นหนา้ ตดั ของชน้ิ ไม้ตัวอย่างที่ตอ้ งการตรวจพสิ จู น์ เฉอื นหลาย ๆ จุด (ภาพที่ 17) 3. ใชแ้ ฮนดเ์ ลนสส์ อ่ งดลู กั ษณะโครงสรา้ งไมต้ รงทใ่ี ชม้ ดี เฉอื น และเปรยี บเทยี บกบั ตวั อยา่ ง ไมห้ รือเอกสารอา้ งองิ (ภาพที่ 18) 4. เมอ่ื แนใ่ จแลว้ ก็ตัดสินใจ จงึ ระบุชนิดไมต้ ัวอย่าง

WOODS IDENTIFICATION / การจ�ำแนกเน้อื ไม้ 75 ภาพที่ 17 มดี สำ�หรบั เฉือน และตัวอย่างการเฉอื นเนอ้ื ไม้เพอ่ื ตรวจพิสจู น์ (CITES, 2002) ภาพที่ 18 แฮนดเ์ ลนส์ และการสอ่ งดลู กั ษณะโครงสรา้ งไมต้ รงทใี่ ชม้ ดี เฉอื น (CITES, 2002) กลุ่มวิจัยอนุสญั ญาไซเตสด้านพชื ส�ำนกั คุ้มครองพันธ์พุ ชื กรมวชิ าการเกษตร

76 การจำ� แนกเนื้อไม้ / WOODS IDENTIFICATION พะยงู (Dalbergia cochinchinensis)

WOODS IDENTIFICATION / การจ�ำแนกเนอื้ ไม้ ภาคท่ี 3 ภาพตวั อยา่ งเน้อื ไม้ ดา้ นตัดขวางสำ�หรับเปรียบเทยี บ กลุ่มวิจยั อนสุ ัญญาไซเตสดา้ นพชื ส�ำนักคมุ้ ครองพันธ์พุ ชื กรมวิชาการเกษตร

การจ�ำแนกเน้อื ไม้ / WOODS IDENTIFICATION

WOODS IDENTIFICATION / การจำ� แนกเนอื้ ไม้ 79 ภาคที่ 3 ภาพตัวอย่างเน้อื ไมด้ ้านตัดขวางสำ�หรบั เปรียบเทียบ 1. กระถนิ ณรงค ์ Acacia auriculiformis A.Cunn. ex Benth. Family FABACEAE (LEGUMINOSAE) 2. กระถนิ เทพา Acacia mangium Willd. Family FABACEAE (LEGUMINOSAE) กลมุ่ วิจัยอนุสัญญาไซเตสด้านพชื ส�ำนกั ค้มุ ครองพนั ธ์พุ ืช กรมวิชาการเกษตร

80 การจำ� แนกเนอื้ ไม้ / WOODS IDENTIFICATION 3. กระทงั หัน Calophyllum thorelii Pierre Family CALOPHYLLACEAE 4. กระบก Irvingia malayana Oliv. ex A. W. Benn. Family IRVINGIACEAE

WOODS IDENTIFICATION / การจ�ำแนกเนื้อไม้ 81 5. กระบาก Anisoptera costata Korth. Family DIPTEROCARPACEAE 6. กระพี้เขาควาย Dalbergia cultrata Graham ex Benth. Family FABACEAE (LEGUMINOSAE) กลุ่มวจิ ัยอนุสญั ญาไซเตสดา้ นพืช สำ� นกั ค้มุ ครองพนั ธุพ์ ชื กรมวิชาการเกษตร

82 การจ�ำแนกเนอ้ื ไม้ / WOODS IDENTIFICATION 7. กฤษณา Aquilaria crassna Pierre ex Lecomte Family THYMELAEACEAE 8. กอ่ Castanopsis sp. Family FAGACEAE

WOODS IDENTIFICATION / การจ�ำแนกเน้ือไม้ 83 9. กอ่ Quercus sp. Family FAGACEAE 10. กันเกรา Fagraea fragrans Roxb. Family GENTIANACEAE กลมุ่ วิจัยอนสุ ัญญาไซเตสด้านพชื ส�ำนักคมุ้ ครองพันธพุ์ ชื กรมวชิ าการเกษตร

84 การจำ� แนกเนอ้ื ไม้ / WOODS IDENTIFICATION 11. กำ�ยาน Styrax benzoides Craib Family STYRACACEAE 12. ขนนุ Artocarpus heterophyllus Lam. Family MORACEAE

WOODS IDENTIFICATION / การจ�ำแนกเน้ือไม้ 85 13. สาธร Millettia leucantha Kurz Family FABACEAE (LEGUMINOSAE) 14. เขลง Dialium cochinchinense Pierre Family FABACEAE (LEGUMINOSAE) กลุ่มวจิ ัยอนุสญั ญาไซเตสดา้ นพืช ส�ำนักคุ้มครองพนั ธุ์พืช กรมวิชาการเกษตร

86 การจ�ำแนกเนือ้ ไม้ / WOODS IDENTIFICATION 15. ไขเ่ ขียว Parashorea stellata Kurz Family DIPTEROCARPACEAE 16. เคีย่ ม Cotylelobium lanceolatum Craib Family DIPTEROCARPACEAE

WOODS IDENTIFICATION / การจ�ำแนกเนอื้ ไม้ 87 17. เค่ยี มคะนอง Shorea henryana Pierre Family DIPTEROCARPACEAE 18. จนั ทนช์ ะมด Mansonia gagei J. R. Drumm. ex Prain Family MALVACEAE กล่มุ วจิ ยั อนุสญั ญาไซเตสด้านพชื ส�ำนักคมุ้ ครองพันธ์ุพืช กรมวชิ าการเกษตร

88 การจำ� แนกเนอ้ื ไม้ / WOODS IDENTIFICATION 19. จามจุร ี Albizia saman (Jacq.) Merr. Family FABACEAE (LEGUMINOSAE) 20. จำ�ปาป่า Magnolia champaca (L.) Baill. ex Pierre Family MAGNOLIACEAE

WOODS IDENTIFICATION / การจำ� แนกเน้ือไม้ 89 21. จกิ นม Palaquium garrettii H. R. Fletcher Family SAPOTACEAE 22. เฉียงพร้านางแอ Carallia brachiata (Lour.) Merr. Family RHIZOPHORACEAE กลมุ่ วจิ ยั อนุสญั ญาไซเตสด้านพชื ส�ำนักคมุ้ ครองพันธพ์ุ ืช กรมวิชาการเกษตร

90 การจ�ำแนกเนอ้ื ไม้ / WOODS IDENTIFICATION 23. ชัน Shorea thorelii Pierre ex Laness. Family DIPTEROCARPACEAE 24. ชากุน, พกิ ุลปา่ Payena acuminata (Blume) Pierre Family SAPOTACEAE

WOODS IDENTIFICATION / การจ�ำแนกเนื้อไม้ 91 25. ชิงชัน Dalbergia oliveri Gamble ex Prain Family FABACEAE (LEGUMINOSAE) 26. ชมุ แพรก Heritiera javanica (Blume) Kosterm. Family MALVACEAE กลุ่มวิจัยอนสุ ัญญาไซเตสดา้ นพชื สำ� นกั คุ้มครองพันธุ์พชื กรมวชิ าการเกษตร

92 การจ�ำแนกเนื้อไม้ / WOODS IDENTIFICATION 27. เชียด, อบเชย Cinnamomum iners Reinw. ex Blume Family LAURACEAE 28. ซอ้ Gmelina arborea Roxb. Family LAMIACEAE